Search Tire

Categories of Tires

๏ปฟ
Statistic
 เธงเธฑเธ™เธ™เธตเน‰
399 เธ„เธ™
 เน€เธกเธทเนˆเธญเธงเธฒเธ™
599 เธ„เธ™
 เน€เธ”เธทเธญเธ™เธ™เธตเน‰
11,298 เธ„เธ™
 เน€เธ”เธทเธญเธ™เธ—เธตเนˆเนเธฅเน‰เธง
13,691 เธ„เธ™
 เธ›เธตเธ™เธตเน‰
54,401 เธ„เธ™
 เธ›เธตเธ—เธตเนˆเนเธฅเน‰เธง
188,292 เธ„เธ™
บทความเกี่ยวกับยาง


รู้เปล่า...ควรล้างแอร์รถเมื่อไหร่?



          สวัสดีครับ วันนี้นั่งอ่านเรื่องการดูแลระบบความเย็นของรถยนต์ สิ่งหนึ่งที่มีทั้งคุณและโทษก็คงไม่พ้นคอยล์เย็น (ตู้แอร์ภายในห้องโดยสาร) เพราะให้ทั้งความเย็น และพร้อมกับเป็นจุดเก็บสิ่งสกปรกที่ยากต่อการทำความสะอาด ในที่สุดก็ปล่อยออกมาพร้อมกับความเย็นที่เราได้รับ รวมทั้งเชื้อรา และแบคทีเรียอื่นๆ จากเมือกที่สะสมอยู่ เลยอยากแนะนำวิธีดูแลตู้แอร์กันเล็กน้อยครับ


          มีคำถามที่หลายคนยังได้รับข้อมูลมาต่างกันว่า เมื่อไหร่ควรล้างแอร์รถยนต์ของคุณ


          คำตอบที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานรถยนต์ของแต่ละคน เช่น เส้นทางการใช้งาน มีสภาพถนนอย่างไร ฝุ่นมากหรือไม่ ลุยน้ำหรือเปล่า แต่ตามปกติประมาณ 1 ปีขึ้นไป หรือ 20,000 กิโลขึ้นไป 


 


          ความสกปรกของตู้แอร์ภายในรถยนต์


          ส่วนจะรู้ได้ไงว่าตู้แอร์ได้เวลาล้างแล้ว ให้สังเกตกลิ่นฝุ่น ถ้าเอาจมูกจ่อช่องลมแอร์แล้วมีกลิ่นอับ 

สำหรับวิธีทำความสะอาดตู้แอร์ มี 4 วิธี

          1.ล้างตู้แอร์แบบถอดตู้ ต้องรื้อตู้แอร์ แล้วเอาคอยล์เย็นมาล้างข้างนอก น้ำยาทำความสะอาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ช่างจะใช้อะไรเพื่อประหยัดต้นทุน ราคาถูกก็ผงซักฟอก โซดาไฟ พวกนี้จะล้างออกยาก ดังนั้น เวลาประกอบกลับ เปิดแอร์จะรู้สึกว่ามีกลิ่นผงซักฟอก แสดงว่าล้างออกไม่หมด อาจกัดกร่อนคอยล์เย็นได้ และเมื่อสูดดมเข้าไป ไม่ส่งผลดีต่อระบบหายใจ ถ้าคนแพ้ ก็อาจแสบตา แสบจมูก การถอดล้างตู้แอร์แบบนี้ ต้องแวคเติมน้ำยาแอร์ใหม่ และต้องเปลี่ยนไดเออร์กับวาล์วความดัน ถ้าประหยัดงบ ไม่ยอมเปลี่ยน ท่อแอร์รั่วได้เพราะความชื้นเข้าไปอยู่ในระบบจากการถอดตู้แอร์



          เชื่อหรือไม่ครับ แอร์ที่อยู่ในรถยนต์ที่ขาดการดูแล เป็นอย่างในภาพจริงๆ



          ภาพนี้ผ่านการล้างแล้วครับ


          2.การล้างแบบไม่ถอดตู้ เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น เสร็จเร็ว ทางร้านได้เงินไว โดยทั่วไปเครื่องล้างตู้แอร์จะกำหนดน้ำยาที่ต้องใช้เฉพาะสำหรับการล้าง แต่บ้างเอาผงซักฟอก โซดาไฟ ผสมลงไปเพื่อให้น้ำยาใช้ได้หลายคันขึ้น เวลาล้างน้ำยาออกจะมีปัญหา เพราะเครื่องไม่ได้ถูกกำหนดให้ล้างผงซักฟอก หรือโซดาไฟ ผลที่ได้อาจคาดไม่ถึง การล้างแบบนี้เหมาะกับรถใหม่ รถที่ล้างแอร์ปีละ 1 ครั้ง หรือเหมาะกับรถที่ดูแลตู้แอร์เป็นประจำ ถ้าใช้มา 7-8 ปี แล้ว ช่างแอร์ไม่ค่อยอยากล้างวิธีนี้ เพราะตู้แอร์อาจรั่วอยู่แล้ว แต่ฝุ่นไปอุดรูรั่วไว้ พอล้างเอาฝุ่นออก รอยรั่วก็ปรากฏ



          3.การฉีดสเปรย์ทำความสะอาดตู้แอร์ ไม่ต้องรื้อตู้ออกมา ฉีดสเปรย์ทำความสะอาดให้ทั่วคอยล์เย็น ก็เป็นอันเรียบร้อย คราบน้ำยาจะค่อยๆ ออกมาพร้อมกับน้ำแอร์ตามท่อน้ำทิ้ง ถ้าตู้แอร์ไม่สกปรกมาก วิธีนี้ก็พอใช้ได้ แต่คงต้องฉีดสเปรย์กันบ่อย 2-3 เดือนต่อครั้ง เพราะอยู่ในเมือง ฝุ่นจะเยอะ สเปรย์บางยี่ห้อจะช่วยขจัดกลิ่นด้วย ราคาค่าฉีดสเปรย์ รวมแล้วมากกว่าการล้างตู้แอร์แบบที่ 1 และที่ 2



          ถ้าฉีดที่ตู้แอร์โดยตรงไม่ได้ให้ทำการฉีดเข้าไปที่พัดลมแอร์ฉีดให้เต็มเลย แล้วเปิดพัดลมแอร์เบอร์หนึ่ง ส่วนแอร์ไม่ต้องเปิด น้ำยาที่เป็นโฟมจะถูกดูดเข้าไปที่คอลย์เย็นเองโดยแรงปั่น



          ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที่แล้วฉีดซ้ำอีกรอบ แล้วก็อย่าลืมหาอะไรมารองใต้คอนโซลด้วย เพราะมันจะมีน้ำหยดออกมา


          4.การใส่กรองแอร์ ไม่ใช่รถทุกรุ่นจะใช้ได้ เพราะกรองแอร์ก็ทำมาสำหรับรถอีกระดับ ช่วยกรองฝุ่นอีกวิธีหนึ่ง แต่อายุการใช้งานก็ประมาณ 5,000 กม. ต้องเปลี่ยนอันใหม่ ถ้าไม่เปลี่ยน ลมจะผ่านเข้าตู้แอร์ไม่สะดวก ลมแอร์ที่ออกมาก็จะอ่อนกำลังลง ลมที่ตีกลับจะมีผลต่อคอมแอร์ กรองแอร์สำหรับรถบางรุ่นราคาพอรับได้ แต่บางรุ่นราคาเป็นพันบาท ถ้าใช้วิธีนี้ในการทำความสะอาด ในระยะ 1 ปี ก็เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการทำความสะอาด แบบที่ 1 และที่ 2



          แผ่นกรองแอร์ (Filter)


          ส่วนการป้องกันให้ใช้แอร์ได้นานๆ ไม่ต้องล้างบ่อยๆ วิธีง่ายๆ ลงรถเมื่อไหร่เคาะพรมเมื่อนั้น เพราะพัดลมแอร์อยู่ใกล้กับพรมรองเท้า ถ้าสะสมไว้มันจะดูดเข้าไปเรื่อยๆ ทำให้ตู้แอร์ตันเร็ว ถ้าทำได้เป็นนิสัย ยืดอายุล้างตู้แอร์ได้กว่า 2 ปีเลยทีเดียว



          เป็นยังไงกันบ้างครับ  อยากได้อากาศที่สะอาดสดชื่นขึ้นหรือเปล่า สิ่งใกล้ตัวที่เราส่วนใหญ่มองข้าม ส่วนใครจะเลือกวิธีไหนคงต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและอายุรถประกอบกันไป  สำหรับวันนี้คงต้องลาไปก่อนครับ...mata


เรียบเรียงโดย  พรชัย  สังเวียนวงศ์  (mata)


ยางรถยนต์,แอร์รถยนต์,อายุการใช้งาน
<<บทความก่อนหน้า บทความถัดไป>>
Facebook Twitter Google Digg Reddit LinkedIn Pinterest StumbleUpon Email