Search Tire

Categories of Tires


Statistic
 วันนี้
158 คน
 เมื่อวาน
446 คน
 เดือนนี้
3,879 คน
 เดือนที่แล้ว
12,970 คน
 ปีนี้
59,952 คน
 ปีที่แล้ว
188,292 คน
บทความทั้งหมด


ถอดรหัสเจาะลึกราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

ผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ PRISM กลุ่ม ปตท. คาดการณ์ว่าปี 2013 ราคาน้ำมันจะปรับลดลง เนื่องจากมีปริมาณการผลิตอย่างพอเพียงโดยมีราคา (ดูไบ) เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งจะวิ่งขึ้นลงอยู่ในช่วง 90 – 120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

          เห็นชื่อเรื่องเกี่ยวกับราคาน้ำมัน หลายคนอาจจะคิดว่ากอง บก. “บ้านเรา” อาจจะงงๆสับสน ลงให้ผิดคอลัมน์ แทนที่จะเป็น “น้ำมันกันเอง” แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ มีที่มาจากกลุ่มโรงกลั่น และ PRISM จึงเป็นหน้าที่ของ “หนอนไหม” โดยตรงที่จะต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง กอง บก. เค้าเที่ยงตรงแน่วแน่ไม่ได้จับแพะชนแกะแต่อย่างใดจ้า

           ที่จะมาเจาะลึกถอดรหัสไขข้อข้องใจเรื่องราคาน้ำมันนี้ “หนอนไหม” ไม่มีความสามารถทำได้ขนาดนั้น แต่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่ม PRISM ที่เป็นความร่วมมือในการบริหาร supply chain ในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของกลุ่ม ปตท. ร่วมกันจัดงานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook ภายใต้หัวข้อเรื่อง ถอดรหัสเจาะลึกราคาน้ำมันโลก ปี 2013 และเจาะลึกโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย

           งามสัมมนาแยกออกเป็นสองส่วน โดยเริ่มจากการบรรยายถึงสถานการณ์ และแนวโน้มทิศทางของราคาน้ำมันในปีหน้า 2013 โดยผู้เชี่ยวชาญของกลุ่ม PRISM อันประกอบ คุณพีรวัฒน์ ธรรมาภิมณฑ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไออาร์พีซี คุณจิตรวัสสิกา หงส์ทอง ศิลปะกุล นักวิเคราะห์ จาก ปตท. และคุณพงษ์พัฒน์ อมรวิวัฒน์ ผู้จัดการแผนกวางแผนพาณิชย์องค์กร ของไทยออยล์ จากนั้นจึงต่อด้วยการเสวนาของผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในแวดวงพลังงานซึ่งก็คือ คุณสุเทพ เหลี่ยมเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) คุณมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน และคุณสุรงค์  บูลกุล ในฐานะปรัธานกลุ่มอุตสาหรรมโรงกลั่นฯ โดยมีคุณเกียนติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้ช่วยกรมการผู้จัดการ  ของบางจากเป็นผู้ดำเนินรายการ

          สำหรับการบรรยายในช่วงแรกถึงทิศทางแนวโน้มของราคาน้ำมันที่จะได้เจอะเจอกันในปี 2013 นั้น มีประเด็นสำคัญๆที่ “หนอนไหม” จับทัน และขอยกมาให้ได้พิจารณากันดังนี้ 

           เศรฐกิจโลกจะโตประมาณ 3.6% ( GDP growth ) โดยมีกลุ่มประเทศ BRIC ( Brazil , Russia , India ,China ) เป็นจัวกระตุ้นการเติบโต ในขณะที่กลุ่มยูโรและสหรัฐอเมริกายังคงซะงักงัน ในขณะที่ไทยของเรามีอัตราเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ 5% และจะมีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 4%
           OPEC ยังคงจะเป็นเจ้าพ่อของการผลิตน้ำมันดิบที่ประมาณ 1 ใน 3 ของที่ผลิตได้ทั้งโลก โดยกลุ่ม Non – OPEC จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นมาจาก shale oil & gas ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขุดเจาะ จนทำให้สามารถเปลี่ยนสถานะจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออก
           อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันก็คือ สถานการณ์ด้านการเมือง โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงานของผู้นำจีน และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ รวมถึงสงครามกลางเมืองในตะวันออกกลาง และการ sanction อิหร่านของสหรัฐอเมริกา
           คาดว่าปี 2013 ราคาน้ำมันจะปรับลดลง เนื่องจากมีปริมาณการผลิตอย่างพอเพียง โดยมีราคา (ดูไบ) เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลซึ่งจะมีวิ่งขึ้นลงอยู่ในช่วง 90 – 120 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยจะขึ้นสูงสุดในช่วงไตรมาสแรก และลดต่ำลงในช่วงกลางปี

          สำหรับการเสวนาในช่วงหลัง “หนอนไหม” มัวแต่หัวเราะชอบใจกับวาทะเด็ดของวิทยากร ที่จี้จุดเรื่องยุ่งๆ ของโครงสร้างราคาน้ำมันได้ตรงเป้า อาทิ

           ปัจจุบันมีโรคติต่อทางการเมืองที่ชื่อว่า “เจ๊เกียวโฟเบีย” คือกลัวมากถ้าจะปรับราคาน้ำมันเบนซินเกิน 30 บาทต่อลิตร
           ทุกวันนี้ปั๊ม LPG ผุดขึ้นมามากกว่าร้านหมูกระทะเสียอีก
           รับไม่ได้กับรถเล็กซัสคันละ 7 ล้านบาท แล้วมาใช้ LPG

          ซึ่งวาทะเจ็บๆคันๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงโครงการสร้างราคาพลังงานของไทยที่ไม่เหมาะสมและไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ยังมีการเก็บภาษีที่ซับซ้อน อีกทั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นต้นทุนที่แท้จริง ยังมีการเก็บภาษีที่ซับซ้อน อีกทั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีไว้เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศชาติไม่ใช่การอุดหนุนราคาให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเราจำเป็นต้องปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เหมาะสม เพื่อเตรียมรับการเข้าสู่การเปิดการค้าเสรีของประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ และพัฒนาในเรื่องพลังงานทดแทน biofuel อย่างจริงจัง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของชาติและประชาชน


น้ำมัน,ยางปประหยัดน้ำมัน,ลดราคาน้ำมัน
<<ก่อนหน้า ถัดไป>>
Facebook Twitter Google Digg Reddit LinkedIn Pinterest StumbleUpon Email